แก้ปัญหาหน้ายางตายนึ่ง

สำหรับเกษตรกรที่ปลูกยางพารา เชื่อว่าทุกท่านต้องเคยเจอปัญหาอย่างหนึ่งคือ ปัญหาหน้ายางตายนึ่ง วันนี้คุณหนุ่ม พยัคฆพล บารมีชินโชติ นักวิชาการเกษตรอาวุโส บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด ผู้เชียวชชาญพืชยางพารา จะมาให้ข้อมูลแบบเจาะลึกว่า หน้ายางตายนึ่งมีกี่ระดับ และจะมีวิธีการจัดการ ป้องกัน แก้ไขอย่างไร

imagec2ilt.png

หน้ายางตายนึ่งชั่วคราว

หน้ายางตายนึ่งมีอาการอย่างไร

ก่อนอื่นเราต้องรู้จักลักษณะอาการหน้ายางตายนึ่งก่อนว่าเป็นอย่างไร อาการที่เด่นชัดก็คือ เมื่อกรีดไปแล้ว ไม่มีน้ำยางออก ให้สังเกตบริเวณหน้ายางที่เรากรีดไป จะเห็นว่ามีน้ำยางออกน้อยมาก ซึ่งก่อนที่จะมีลักษณะน้ำยางที่ออกผิดปกติแบบนี้ อาจจะประมาณ 1 เดือนก่อนเปิดกรีด  เมื่อกรีดไปแล้วน้ำยางออกเยอะผิดปกติ พอออกเยอะก็เราก็กรีดไปเรื่อยๆ จากนั้นจากที่ออกเยอะก็จะเปลี่ยนเป็นไม่ออก แล้วน้ำยางจะเปลี่ยนเป็นจุดๆตามบริเวณผิวหน้าที่เรากรีด  หากเกิดอาการแบบนี้แนะนำให้ใส่ปุ๋ยบำรุงไว้ คือปิดหน้าไปเลย พอเดือนพฤษภาคม ให้ลองมาเปิดกรีดอีกที ถ้าตายนึ่งชั่วคราวโอกาสที่น้ำยางไหลจะไหลเป็นปกติก็ยังมีอยู่

อาการตายนึ่งแบบถาวร

หลังจากรู้จักอาการตายนึ่งชั่วคราวกันไปแล้ว คราวนี้มาถึงอาการตายนึ่งแบบถาวร ซึ่งจะมีอาการรุนแรงกว่า วิธีสังเกตคือ เปลือกจะมีการกะเทาะร่อนออกมา น้ำยางไม่ออก ถึงเราจะปิดหน้าไป 1 ปี หรือ 2 ปี แต่เมื่อมา

กรีดอีก จะเห็นว่าน้ำยางออกนิดเดียว ประมาณ 10-15 มีด จากนั้นก็จะไม่มีน้ำยางออกมาอีกเลย

เพราะอะไรจึงเกิดอาการหน้ายางตายนึ่ง

คุณหนุ่มให้ข้อมูลว่า อาการหน้ายางตายนึ่งเกิดจากหลายปัจจัย คือ

  • ปัจจัยที่เกิดจากสายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์กลุ่ม BPM24 เป็นสายพันธุ์ที่พอเปิดกรีดหน้าสอง จะเจอตายนึ่งเยอะมาก
  • ปัจจัยจากระบบกรีด เราเปิดกรีดด้วยระบบครึ่งลำต้นที่เป็นหน้ายาว หรือเปิดกรีด 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 อย่างครึ่งลำต้น การกรีดที่เหมาะสมคือวันเว้นวัน แต่ถ้าลากไป 2 วันหยุด 3 วันหยุด จะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้หน้ายางตายนึ่งได้มากขึ้น
  • เกี่ยวข้องกับการใช้สารเร่งน้ำยางที่มากเกินไป
  • เกี่ยวข้องกับลักษณะของพื้นที่ที่ปลูก หากปีไหนแล้งเยอะ หรือพื้นที่ปลูกเป็นพื้นที่แห้งแล้ง หรือหนาวจัด ยางจะมีโอกาสตายนึ่งได้มากกว่าในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นดี
  • ปัจจัยด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยเฉพาะดินทราย ดินลูกรัง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ พอเราปลูกยางไป ก็มีโอกาสที่หน้ายางจะตายนึ่งได้ง่าย
  • การกรีดผ่าแล้ง การกรีดต้นที่ไม่ได้ขนาดก็จะมีโอกาสเกิดหน้ายางตายนึ่งได้ง่ายขึ้น
  • ปัจจัยอื่นๆ เช่น ตายางที่เราเอามาติดไม่เข้ากับต้น หรือลักษณะสภาพดินฟ้าอากาศ เช่น หนาวเกินไปก็มีส่วน

เราจะเห็นว่าหน้ายางตายนึ่ง ไม่ได้เกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง แต่อาจเกิดจากหลายปัจจัยรวมกัน

วิธีแก้ไขและป้องกันอาการหน้ายางตายนึ่งด้วยปุ๋ยยารา

ยารามีร่า แอ๊ดว้านซ์  21-7-14 คือปุ๋ยที่มีบทบาทสำคัญ อย่าลืมว่าเวลาที่เรากรีดน้ำยาง ธาตุอาหารก็ออกไปกับน้ำยางด้วย ถ้าเราใส่ปุ๋ยบำรุงอย่างต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ความอุดมสมบูรณ์ของดินมี ยางได้รับธาตุอาหารที่เหมาะสม การใส่ปุ๋ยยารามีร่า แอ๊ดว้านซ์ 21 -7-14 จะช่วยลดปัญหาหน้ายางตายนึ่งได้

ต่อมาขอแนะนำปุ๋ยที่ใช้สำหรับยางเริ่มปลูกจนถึงก่อนเปิดกรีด ในระยะแรกมีความจำเป็นมากที่เราต้องใส่ปุ๋ย เพื่อให้ยางแตกฉัตรไว ยอดใหม่มาเร็ว และต้นสมบูรณ์ ขอแนะนำให้ใช้ยารามีร่า 25-7-7 ใส่สลับกับยารามีร่า 16-11-14  เพราะถ้าใช้สูตร 25-7-7 ต่อเนื่อง ยอดจะได้รับไนโตรเจนเยอะเกิน มันจะคู้ จึงควรใช้สลับกัน พอถึงปีที่ 6 เราจะได้ยางต้นใหญ่ พร้อมเปิดกรีดในปีที่ 6 หรือปีที่ 7

พอถึงช่วงเปิดกรีด แนะนำยารามีร่า แอ๊ดว้านซ์  21-7-14 สูตรนี้จะทำให้เปลือกนิ่ม เปอร์เซ็นต์น้ำยางข้นและน้ำยางออกต่อเนื่อง ทำให้พี่น้องเกษตรกรได้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มมากขึ้น

คราวนี้ตามไปดูกันว่าเกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยยารามีร่า แอ๊ดว้านซ์  21-7-14 ผลผลิตน้ำยางหรือยางแผ่นที่มีคุณภาพมีลักษณะอย่างไร และการทำยางแผ่นที่มีคุณภาพ ใสขนาดนี้ มีวิธีจัดการอย่างไร

 

imageyvvkb.png

 

คุณสมชาย สมาน เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ที่ไว้วางใจในปุ๋ยยารา

คุณสมชายเล่าว่า กว่าจะได้ผลผลิตขนาดนี้ ต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรก หลังจากกรีดเป็นน้ำยาง ก็ต้องมากรอง 1 ครั้งก่อน ถ้ายังมีสิ่งเจือปน ก็ต้องกรองซ้ำอีก ยิ่งกรองมาก ผลผลิตที่ได้ก็ยิ่งดี ถ้าตั้งแต่ต้นเลือกใช้ปุ๋ยที่ไม่ดี ยางจะมีแต่น้ำ และขาดคุณภาพใบด้วย เมื่อเปอร์เซ็นต์น้ำยางน้อย น้ำหนักก็จะน้อยลงไปด้วย

คุณหนุ่มเสริมว่า โดยทั่วไปการทำยางแผ่นคุณภาพจะมีการกรอง 3 ขั้นตอน ตั้งแต่เก็บมาจากแปลง กรองก่อนทำแผ่น ในกระบวนการขั้นตอนการทำแผ่นก็จะได้ยางที่มีลักษณะเรียกว่ายางใส ปราศจากสิ่งเจือปน นี่ถือเป็นคุณภาพชั้นหนึ่ง ไม่มีฟอง ที่สำคัญคือ มีขนาดตั้งแต่ 8 ขีดจนถึง 1.2 กก ซึ่งบทบาทสำคัญของปุ๋ยยาราที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงคือ เปอร์เซ็นต์น้ำยางสูง ทำให้ยางแผ่นได้น้ำหนักดีอีกด้วย

นักวิชาการยารา พบเกษตรกร

คุณพยัคฆ์พล บารมีชินโชติ นักวิชาการเกษตรอาวุโส บริษัท ยารา ประเทศไทย มาไขปริศนาของหน้ายางตายนึ่ง ให้พี่น้องได้กระจ่างกันครับ ติดตามเพิ่มเติมได้ในคลิปวิดิโอเลยคร้าบบบบ

เสียงจริงเกษตรกรยารา

พี่สมชาย สมาน เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราที่ อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา มาฟังเรื่องจริง ไม่อิงนิยายของพี่สมชาย สมาน ที่สร้างตัวจากศูนย์ ถึง 3,000 ไร่! มาแชร์เคล็ดลับ รู้เรื่องดิน เรื่องปุ๋ยใส่ให้ถูกวิธี พี่สมชายใช้ยารามา 20 กว่าปี จนทุกวันนี้ประสบความสำเร็จ