คุณธฤตภณ กุลจิราธนวัต

เกษตรกรผู้ปลูกไร่อ้อย อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี


จากวัยรุ่นธรรมดา
…สู่การเป็นเกษตรกร 500 ไร่
ความภูมิใจในการทำไร่อ้อย…ด้วยหัวคิดและเริ่มต้นจากสองมือของตัวเอง

คุณธฤตภณ กุลจิราธนวัต หรือ เฮียวรดิษฐ์ เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ 500 ไร่ โดยแบ่งเป็นไร่อ้อย จำนวน 150 ไร่ สวนยางและสวนปาล์ม จำนวน 350 ไร่ในพื้นที่อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี เฮียวรดิษฐ์เล่าให้ฟังว่า ประกอบอาชีพเกษตรกรมาแล้วกว่า 35 ปี  เฮียแยกออกจากบ้านพ่อและแม่มาสร้างครอบครัวด้วยตัวเองตั้งแต่อายุ 17 ปี เริ่มด้วยสองมือเปล่า เนื่องจากเป็นลูกเกษตรกร คุ้นชินกับไร่และสวนมาตั้งแต่เด็ก จึงเริ่มต้นจากการเป็นอาชีพเกษตรกร ได้นำสิ่งที่เรียนรู้มาจากพ่อและแม่ ประกอบกับความคิดของตัวเอง ลองผิด ลองถูก ล้มลุกคลุกคลาน เมื่อได้เงินมาจากการขายผลผลิต ก็มาซื้อที่ดิน ซื้อเครื่องมือในการทำการเกษตร จนมาเป็นเกษตรกรที่มีพื้นที่ของตัวเอง กว่า 500 ไร่ ในปัจจุบัน

sugarcane

เคล็ด(ไม่)ลับ ปลูกอ้อยให้งาม ดินดี น้ำดี ที่สำคัญ ปุ๋ยต้องดี

เริ่มต้นการปลูกอ้อย เฮียวรดิษฐ์อธิบายให้กับพวกเราฟังว่า โดยปกติการทำอ้อยจะมี 2 แบบคือ อ้อยปลูกใหม่ กับ อ้อยตอ แต่ในการดูแลจะไม่แตกต่างกันเท่าไหร่  เทคนิคของเฮียวรดิษฐ์คือ

 1. เริ่มแรกจะใส่ปุ๋ย “ยารามีร่า สูตร 23-8-8” ในการรองก้นหลุมและรดน้ำก่อนเสมอสำหรับอ้อยปลูกใหม่  ส่วนอ้อยตอผมจะใส่ปุ๋ยยารามีร่า 23-8-8 ช่วงอายุการปลูก 7-14 วันซึ่งอัตราส่วนที่ใช้จะเท่ากัน 50 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อให้ปุ๋ยสร้างธาตุอาหารร่วมกับดินที่เป็นดินดี กระตุ้นการแตกตาและเร่งการเจริญเติบโตได้ดียิ่นขึ้น ที่สำคัญช่วยทำให้ใบอ้อยเขียวนานขึ้น

2. ช่วงอายุการปลูก 45 วัน จะเป็นช่วงระยะแตกกอ ใช้ ยารามีร่า แอ็ดว้านซ์  21-7-14 อัตรา 50 กก. ต่อไร่ หว่านลงร่องอ้อยและโรยลงโคน เพื่อช่วยให้อ้อยแตกกอดี  ลำต้นอวบ น้ำหนักดี และค่าความหวานสูง

เคล็ด(ไม่)ลับ ฉบับเฮียวรดิษฐ์ 

เฮียวรดิษฐ์แนะนำเทคนิคแบบชาวบ้านที่เฮียนำมาใช้ในการดูแลอ้อยของเฮียเพื่อช่วยบำรุงดินและรักษาสภาพดินให้อ้อยได้รับธาตุอาหารที่ดีขึ้นคือ

  • การใส่ขี้ไก่ในช่วง 1-2 เดือน เสริมกับการใช้ปุ๋ยยารา
farmer

ปุ๋ยดี ผลผลิตดี ลำต้นใหญ่ น้ำหนักดี ปริมาณน้ำตาลในอ้อยสูง

 

หลังจากนั้นรอเวลาการเก็บเกี่ยว เฮียวรดิษฐ์จะให้คนงานที่มีประมาณ 10 คน ช่วยกันเก็บเกี่ยวโดยใช้เครื่องตัดอ้อยที่มีเป็นของตัวเอง เก็บเกี่ยวผลผลิต สลับไปในแต่ละแปลง และขนส่งไปจำหน่ายที่โรงงานน้ำตาล ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เพราะเฮียวรดิษฐ์เป็นเจ้าของโควต้าโรงงานน้ำตาลเองหลายแห่งในเขตจังหวัดชลบุรี

ซึ่งผลผลิตของเฮียวรดิษฐ์จะแตกต่างจากไร่อ้อยทั่วๆ ไปคือ แปลงที่ใช้ปุ๋ยสูตรอื่นจะสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนแปลงที่ใช้ปุ๋ยยารา ต้นจะสูงประมาณ 3 เมตร เมื่อก่อนผลผลิต 1 ไร่จะได้ปริมาณ 10 ตัน แต่ปัจจุบัน ได้ผลผลิตถึง 20 ตันต่อไร่

เฮียวรดิษฐ์จึงเลือก “ทำจำนวนน้อยไร่แต่ได้ผลผลิตมาก” ซึ่งจะเป็นอ้อยที่มีผลผลิตดี “ลำต้นใหญ่ แตกกอดี น้ำหนักดี ปริมาณน้ำตาลในอ้อยสูง” จากการดูแลเอาใจใส่ และการใช้ปุ๋ยยาราที่มีคุณภาพ 

โดยเฮียวรดิษฐ์ เลือกใช้ปุ๋ยยารามีร่าในไร่อ้อย เพราะ

  • ในทุกเม็ดของปุ๋ยของยารามีร่าจะมีปริมาณ NPK เท่าๆ กันอย่างแม่นยำ ดังนั้นเมื่อใส่ปุ๋ยในอัตราส่วนที่ถูกต้องและในสภาวะที่ถูกต้อง ยารามีร่าจึงทำให้มั่นใจได้ว่าพืชจะได้รับธาตุอาหารจำเป็นอย่างถูกต้องและสมดุล ที่สำคัญยังทำให้ต้นพืชโตสม่ำเสมอกันอีกด้วย

  • ปุ๋ยยารามีธาตุอาหารไนโตรเจน 2 รูปแบบในเม็ดเดียวกัน คือ ไนเตรท-ไนโตรเจนและแอมโมเนียมไนโตรเจน ซึ่งพืชจะสามารถดูดใช้ไนเตรทไนโตรเจนได้ทันที ไนโตรเจนนั้นไม่เพิ่มความเป็นกรดให้กับดิน ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารที่ใส่ไปอย่างรวดเร็วและครบถ้วน และแอมโนเนียมไนโตรเจนจะช่วยให้พืชได้รับธาตุอาหารได้ต่อเนื่อง จึงทำให้พืชได้รับไนโตรเจนได้เร็วและต่อเนื่องยาวนาน


“สิ่งที่ผมอยากฝากทุกคนไว้เป็นแรงบันดาลใจในการทำอาชีพเกษตรกรไร่อ้อย ผมคิดเสมอว่าอาชีพนี้ไม่ใช่อาศัยแค่ความรู้ที่เรียนสูง แต่การกล้าที่จะลงมือทำ ได้ลองผิด ลองถูก และการเก็บเกี่ยวหาความรู้ การเลือกใช้ปุ๋ยที่ดี จะทำให้สามารถประสบความสำเร็จได้แบบผม” เฮียวรดิษฐ์กล่าว

คลิปวิดิโอเสียงจริงเกษตรกรยารา