คุณธัชพล วิจิตรสุข

เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน จังหวัดตราด

 

คุณธัชพล วิจิตรสุข หรือ คุณหนุ่ย เกษตรกรแห่งจังหวัดตราดผู้มากด้วยประสบการณ์ ปลูกทุเรียนมากว่า 20 ปี จนประสบความสําเร็จ และมีรายได้ที่งดงาม เพราะมีระบบการจัดการ สวนทุเรียนที่ดี ผลผลิตที่ได้จึงมีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาด

จากวิศวกรสู่เกษตรกร จากเมืองหลวงกลับสู่บ้านเกิด

เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 หรือ วิกฤติต้มยํากุ้ง เป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้คุณหนุ่ย ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานจากเมืองหลวงกลับสู่บ้านเกิด ที่อําเภอเขาสมิง จังหวัดตราด เปลี่ยนจากอาชีพ วิศวกรมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว

แรกเริ่มนั้น คุณหนุ่ยคิดจะเปิดร้านขาย เคมีภัณฑ์ทางการเกษตรเพราะพบข้อมูลว่า พื้นที่อําเภอ เขาสมิง ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทําสวนไม้ผล ลูกค้าหลักก็คือเกษตรกรที่ทําสวนทุเรียน เมื่อไม่มีความรู้ ทางด้านนี้มาก่อน ดังนั้น เพื่อให้รู้ลึกรู้จริง และเกิด ความชํานาญในอาชีพใหม่นี้ คุณหนุ่ยจึงเช่าที่ดินกว่า 40 ไร่ เพื่อเรียนรู้วิธีการปลูกทุเรียน และเรียนรู้ การใช้ผลิตภัณฑ์เคมีทางการเกษตรไปด้วยในตัว

คุณหนุ่ยเล่าว่า สาเหตุหนึ่งที่เลือกปลูก ทุเรียนก็คือ สามารถเรียกราคาหรือต่อรองตลาด กับพ่อค้าแม่ค้าที่มารับซื้อได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับผลไม้ ชนิดอื่น เมื่อลงมือทําแล้วก็ประสบความสําเร็จ จึงคิด ขยายการปลูกออกไป ซึ่ง 20 กว่าปีที่ผ่านมา จากสวนทุเรียนเพียง 40 ไร่ วันนี้มีพื้นที่ปลูก ทุเรียนรวมแล้วกว่า 200 ไร่

farmer

ปุ๋ยคุณภาพ คือเคล็ดลับการปลูก ทุเรียน

ทุเรียนที่คุณหนุ่ยเลือกปลูกคือพันธุ์หมอนทอง ต้นที่ให้ผลผลิตดีจะต้องมีอายุ 5 ปีขึ้นไป ระยะปลูก ที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 8 x 8 เมตร เริ่มต้นปลูกต้อง บํารุงต้นให้พร้อมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ออกจําหน่าย เมื่อเก็บเกี่ยวทุเรียนหมดแล้ว ขั้นตอน ต่อมาที่มีความสําคัญก็คือ การดูแลและบํารุงต้นทุเรียน ให้กลับมาแข็งแรง เพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับ ฤดูกาลผลิตต่อไป

เคล็ดลับของคุณหนุ่ยคือ เลือกใช้ “ปุ๋ย ยารามีร่า 16-16-16” เป็นปุ๋ยปั้นเม็ดที่มีธาตุ อาหารครบถ้วน นํามาผสมกับ “ปุ๋ยยาราลีว่า ในตราบอร์ 15-0-0” ปุ๋ยแคลเซียมในเทรตที่ ละลายน้ําได้ดี พืชดูดซึมไปใช้ได้ทันทีทางระบบราก ทําให้ใบของต้นทุเรียนแตกใบใหม่ได้ไวขึ้น ผนังลําต้น มีความแข็งแรง จึงต้านทานโรคและแมลงได้ดี

หลังจากใส่ปุ๋ยไปแล้ว 15 วัน จะเริ่มเห็นต้น ทุเรียนแตกใบอ่อนออกมาเป็นระยะแทงหางปลา ไปจนถึงระยะใบเพสลาด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 45 วัน เพื่อสร้างใบอ่อนใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อได้ใบอ่อนครบทั้ง 2 ชุด ก็จะทําสารใหม่ได้ทันที เพื่อกระตุ้นการสร้างคอก และรอผลผลิตในรอบต่อไป

ส่วนการดูแลต้นทุเรียน หลังการแตกใบอ่อนและ ฉีดพ่นสารเพื่อกระตุ้นการ สร้างดอก คุณหนุ่ยบอกว่า รออีกประมาณ 1 เดือน กระทั่งเข้าสู่เดือนกันยายน ต้นทุเรียนจะมีดอกออกมา ซึ่งปุ๋ยที่ใส่บํารุงต้นต้องเปลี่ยนไปด้วย คือ ให้ “ปุ๋ยยารามีร่า ดับเบิล 8-24-24” เพื่อเป็น การสะสมอาหาร ดอกที่ออกตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงตุลาคม จะค่อย ๆ พัฒนาเป็นผลเล็ก ๆ ช่วงนี้ยังคง ใช้ปุ๋ยสูตรเดิม โดยให้เดือนละครั้ง จะทําให้ผลทุเรียน เติบโตแบบมีคุณภาพ พร้อมเก็บเกี่ยวได้ใน ช่วงเดือนมีนาคม

durian

ปุ๋ยคอมปาวด์ หนึ่งตัวช่วยสําคัญ

เหตุผลที่คุณหนุ่ยเลือกใช้ “ปุ๋ยยารา” ในการ ทําสวนทุเรียนก็คือ เป็นปุ๋ยที่มีการละลายดีมาก ไม่เหลือกากให้เห็น มีการตอบสนองที่ไวกับ ต้นทุเรียน ตัวอย่าง “ปุ๋ยยารามีร่า 16-16-16” เมื่อใส่ลงไปแล้วจะใช้ระยะเวลาไม่นาน ใบของต้นทุเรียน จะแตกยอดใหม่ทันทีซึ่งแตกต่างกับปุ๋ยอื่นๆที่ตอบสนอง ได้ช้า ที่สําคัญ “ปุ๋ยยารา” เป็นปุ๋ยคอมปาวด์ทุกเม็ด จะมีปริมาณธาตุอาหารหลัก (NPK) เท่ากัน เมื่อใส่ใน อัตราส่วนและเวลาที่ถูกต้อง จึงมั่นใจได้ว่า ทุเรียน ทุกต้นจะได้รับธาตุอาหารที่จําเป็นครบถ้วน

ผลผลิตทุเรียนที่มีผลต่อรายได้

 

ทุเรียน 1 ต้น คุณหนุ่ยจะเลือกไว้ผล ประมาณ 50-70 ลูก หรือให้ผลผลิต 100-200 กิโลกรัม ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกทุเรียนได้ 25 ต้น ดังนั้น ผลผลิตที่ได้จะอยู่ที่ 2-3 ตันต่อไร่ ซึ่งทุเรียน 1 ผล มีน้ําหนักประมาณ 3 กิโลกรัมกว่าๆราคาจําหน่ายล่าสุด อยู่ที่กิโลกรัมละ 152 บาท การจําหน่ายส่วนใหญ่ จะมีพ่อค้าเข้ามาติดต่อขอซื้อถึงหน้าสวน เมื่อตกลง ซื้อขายจนพอใจทั้งสองฝ่ายแล้ว ลูกค้าจะนําคนงาน เข้ามาตัดทันที โดยคุณหนุ่ยไม่ต้องนําทุเรียนออกไป จําหน่ายนอกสวน

 

คุณหนุ่ยกล่าวว่า “รายได้โดยรวมเป็น ที่น่าพอใจ เมื่อเทียบกับต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าสารต่าง ๆ ที่ใช้ ประมาณ 240 บาทต่อต้น ต่อฤดูกาล ถือว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับคุณภาพของผลผลิตที่ได้ จากประสบการณ์ที่ทําสวนทุเรียนมากว่า 20 ปี ผมมีหลักการที่ทําให้สวนทุเรียนประสบผลสําเร็จ ได้รายได้ที่ดี คือ มีการจัดการสวนที่ดี และ เลือกใช้ปุ๋ยที่ดีมีคุณภาพ เพียงเท่านี้ อาชีพ การทําสวนทุเรียน ก็เป็นอาชีพที่ยั่งยืน สร้างรายได้ให้อย่างยาวนาน”

คลิปวิดิโอเสียงจริงเกษตรกร