การตรวจค่าความเป็นกรด- ด่างในดินในพื้นที่เพาะปลูก

imagelca4.png

วันนี้คุณยิ่ง อัจฉริยะชาติ ลับภู นักวิชาการเกษตรอาวุโส บริษัทยารา ประเทศไทย จำกัด พามาลงพื้นที่ที่ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พร้อมกับมาให้คำแนะนำเรื่อง “ การตรวจค่าความเป็นกรด- ด่างในดิน” ซึ่งเป็นวิธีการง่ายๆ ที่เกษตรกรสามารถตรวจด้วยตัวเองได้ ข้อดีคือ ทำให้ทราบว่าดินในพื้นที่นั้น ๆ มีค่าที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชหรือไม่

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบค่าความเป็นกรด- ด่างในดิน

การทดสอบค่าความเป็นกรด- ด่างในดิน

เป็นอุปกรณ์จากโครงการพัฒนาวิชาการดิน ปุ๋ย และสิ่งแวดล้อมของภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ คือ

  • น้ำยาทดสอบเบอร์ 4
  • ถาดหลุม
  • ช้อนตักดิน
  • แถบวัดสีมาตรฐาน

วิธีเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำไปทดสอบ

สำหรับการเก็บตัวอย่างดินนั้น จะมีวิธีการที่แตกต่างกันไปในพืชแต่ละชนิด นั่นคือ

กลุ่มพืชไร่ นาข้าว พืชรากสั้น

  • ให้สุ่มเก็บตัวอย่างดินแบบกระจายทั่วแปลง แปลงละ 15-20 จุด
  • ขุดแนวดิ่งลึกประมาณ 15 ซม. ความหนา 2-3 ซม.

กลุ่มไม้ยืนต้น ไม้ผล

  • สุ่มเก็บตัวอย่างดินกระจาย 4 จุด รอบบริเวณทรงพุ่ม
  • ขุดแนวดิ่งลึกประมาณ 30 ซม. ความหนา 2-3 ซม.

ขั้นตอนง่ายๆของการทดสอบค่าความเป็นกรด- ด่างในดิน

การทดสอบค่าความเป็นกรด- ด่างในดิน

เมื่อได้ตัวอย่างดินมาพร้อมแล้ว ก็เริ่มขั้นตอนการทดสอบได้เลย โดยมีขั้นตอนง่ายๆดังนี้

  1. ใช้ถาดหลุมและช้อนตักดิน ตักตัวอย่างดินใส่ในถาดหลุม ปริมาณพอดีกับก้นหลุม
  2. หยดน้ำยาทดสอบปริมาณ 1-2 หยด ลงในถาดหลุม จนเต็มก้นหลุม
  3. จากนั้นรอประมาณ 1 นาที ให้น้ำยาทำปฏิกิริยากับดิน

สำหรับดินในแปลงที่คุณยิ่งนำมาทดสอบในวันนี้ มีสีค่อนข้างแดง ค่าที่ตรวจวัดได้ อยู่ที่ประมาณ 7.0 ซึ่งมีความเป็นกลาง หมายถึง มีความเหมาะสมที่พืชหลายชนิดจะเจริญเติบโตได้ดี  สามารถดึงธาตุอาหารที่อยู่ในดินไปใช้ได้อย่างเต็มที่

ดินแบบไหนเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก

ดินแบบไหนเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก

ค่าที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช คือค่ากลาง มีความเป็นกรดด่าง อยู่ที่ 5.5 - 7.0 เหมาะสมสำหรับพืชกลุ่มยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน ลำไย ผักกินใบ อ้อย ข้าวโพด จะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี ช่วยให้การเพาะปลูกของเกษตรกรมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

การอ่านค่าในแถบวัดสี

เกษตรกรจะเห็นว่าในแผ่นเทียบสีมาตรฐานนั้น มีตัวเลขหลายตัวมาก ซึ่งคุณยิ่งได้ไขข้อสงสัยถึงค่าของตัวเลขแต่ละตัวไว้ดังนี้

- ค่าที่ต่ำกว่า 7.0 ถือเป็นค่าดินกรด

- ค่าที่มากกว่า 7.0 ขึ้นไปถือเป็นค่าดินด่าง

ค่าดินที่มีความเป็นกรดหรือเป็นด่างมากไป สามารถศึกษาวิธีการแก้ไขได้จากคู่มือ หรือสามารถสอบถามนักวิชาการของยาราได้เลย การตรวจค่าความเป็นกรด-ด่างของดินในพื้นที่ถือเป็นประโยชน์มาก ช่วยให้เกษตรกรสามารถเตรียมดินให้เหมาะสมก่อนการเพาะปลูก ซึ่งจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชนั่นเอง

นักวิชาการยารา พบเกษตรกร

คุณอัจฉริยะชาติ ลับภู นักวิชาการเกษตรอาวุโส บริษัท ประเทศไทย จำกัด พามาลงพื้นที่ที่ตำบลปากช่อง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา พร้อมกับมาให้คำแนะนำเรื่อง “ การตรวจค่าความเป็นกรด- ด่างในดิน”